วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

STEM Education เพื่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

     




          การจัดการศึกษาในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม   ทั้งนี้เนื่องจากมีหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยส่วนใหญ่ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจซึ่งดูได้จากผลการสอบ O-NET,  PISA  เป็นต้น  การที่นักเรียนยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ การเชื่อมโยง ประสบการณ์จากการเรียนรู้มาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน แม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จะทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงมวลความรู้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วทาง  internet  แต่ผลที่พบคือผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ในการนำมวลความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวมา งานวิจัยที่ข้าพเจ้าจะศึกษาคือการนำการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา(STEM Education) มาช่วยในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการสอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

          ปัญหาที่ข้าพเจ้าพบในการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ (P.B.L)  ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี   คือนักเรียนยังขาดทักษะในการทำงานกลุ่ม ขาดการทักษะการแบ่งงานขาด การคิดทักษะการคิด วิเคราะห์และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของตนกับปัญหาที่พบ ทั้งนี้เนื่องมาจากเวลาในการทำงานร่วมกันของผู้เรียนและผู้สอนน้อย ขาดความต่อเนื่องในการทำงาน  ผู้เรียนไม่มีอิสระในการหาแนวคิดใหม่ๆ ขาดทักษะการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะชน เนื่องจากปัจจัยที่กล่าวมา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนำ Edmodo มาประยุกต์ใช้ในการสอน แบบSTEM Education โดยเน้นการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว



บรรณานุกรม
มนตรี  จุฬาวัฒนทล  (2556, มกราคม-ธันวาคม).  การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและ   คณิตศาสตร์หรือ"สเต็มศึกษา".  สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี แห่ง ประเทศไทย.19 ;/3-19